ทำไมPaypalถึงครองตลาดระบบการเงินออนไลน์

paypal

Paypal อันดับหนึ่งด้านธุรกรรมการเงินออนไลน์ 

หากจะกล่าวถึงระบบการเงินทุกคนก็จะรู้จักกับ ธนาคารที่จะมีการทำธุรกรรมต่างๆทั้งฝาก ถอน โอน จ่าย  และสามารถใช้กับระบบออนไลน์ผ่านทั้งรูปแบบอนเทอร์เน็ตทั้ง แบงก์ออนไลน์ และ โมบายแบงค์  นอกจากนี้ก็ยังมีการใช้งานผ่านบัตรวิซ่า, มาสเตอร์การ์ด, ยูเนี่ยนเปย์ และอีกมากมาย  รวมถึงระบบอีวอลเล็ตของค่ายต่างๆ และที่กล่าวมาทั้งหมดคือ Paymant Gateway 

โดยแบ่งออกเป็นใน 2 รูปแบบเชื่อมกับธนาคารโดยตรง ก็ K Plus กสิกร , BualuangM กรุงเทพ และแบบผ่านตัวกลางที่ให้บริการที่ไม่ใช่ธนาคาร  อย่างเรารู้จักกันดีเลย ทรูมันวอลเล็ต, ไลน์เปย์, เปย์โอเนีย, และอีกมากมาย  แต่ที่เรากำลังจะกล่าวถึงในบทความนี้ คือพระเอกที่ยืนหนึ่งในการให้บริการธุรกรรมการเงินออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ของโลกในเวลานี้ PAYPAL 

บอกได้เลยว่าแม้จะมีระบบมากมายในโลกแต่คนก็นิยมใช้ Paypal กันมากที่สุดแล้วอะไรลำที่ทำให้คนนิยมใช้กันมากขนาดนี้  Paypal มีกฎที่เข้มงวดในการใช้บริการที่จะโอนจ่ายหรือชำระเงินกับค่าสินค้าและบริการ  และเป็นปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 400 ล้านคนทั่วโลกที่ทำธุรกรรมออนไลน์  รองรับได้กว่า 25 สกุลเงิน สามารถแปลงสกุลเงินได้อัตโนมัติ รองรับการชำระจากบัตรเครดิต และเดบิต PayPal, Visa, Mastercard, AMEX, Discover และ UnionPay ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 4.4% + $0.3USD และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมอื่นๆ  อีกทั้งคุณสามารถชำระเงินโดยที่ไม่ต้องมีบัญชี Paypal ก็ทำได้  นี่จึงเป็นเหตุผลทำไม Paymant Gateway ที่เป็น Non Bank อย่าง Paypal ถึงได้รับความนิยมมากในตอนนี้

ประวัติ paypal

ต้นกำเนิดกว่าจะเป็น Paypal ในปัจจุบัน

บริษัทนี้เปิดให้บริการมากกว่า 20 ปีเริ่มก๋อตั้งขึ้นในปี 2541 แต่มาเปิดให้บริการจริงในปี 2542 ให้บริการโอนเงินใช้ชื่อว่า “Confinity” โดยผู้ก่อตั้งในตอนนั้นคือ Max Levchin, Peter Thiel, Luke Nosek, and Ken Howery และก็มีคู่แข่งในตลาดคือ X.com ซึ่งก่อตั้งโดย “อีลอน มัสก์” แต่กลับกลายเป็นว่าทั้งสองบริษัทกลับมองเห็นอนาตคร่วมกัน  ทำการควบรวมกิจการในปี 2543 และได้ให้บริการระบบการเงินออนไลน์ Palypal ในชื่อใหม่  เป็นการเริ่มต้นของ Paypal อย่างเป็นทางการแค่ในช่วงแรกก็เริ่มได้รับความนิยมแล้ว  ข้อได้เปรียบสำคัญของโมเดลธุรกิจคือการใช้เงิน ดอลลาร์สหรัฐ เป็นเงินตราแลกเปลี่ยนหลัก  โดยใช้อีเมลล์เป็นตัวกลางในการโอนเงิน เชื่อมบัญชีธนาคารและชำระค่าบริการต่างๆทั้งหมดบนโลกออนไลน์รวมไปถึงออฟไลน์ในหลายพื้นที่  จากที่มีแค่ 12000 แอคเคาท์กลับกลายมาเป็น 2.7 ล้านแอคเคาท์ใน 8 เดือน  

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ Paypal เข้าตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกาในปี 2544 ด้วย ipo ราคา $13 ต่อหุ้น  และมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นมาเป็น 9 ล้านราย  และเปิดให้บริการชำระเงินออนไลน์กับเว็บไซต์ต่างมากขึ้น  รวมถึงใช้ทำธุรกรรมการเงินบนโลกออนไลน์  ต่อมาในปี 2545 เป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดของบริษัท  เพราะดันไปเข้าตาบริษัทช็อปปิ้งออนไลน์ยักษ์ใหญ่อย่าง Ebay ที่เข้ามาซื้อบริษัทด้วยมูลค่ามากถึง 1500 ล้านเหรียญสหรัฐ  มาเป็นผุ็ถือหุ้นใหญ่มากถึง 70% ซึ่งในตอนนั้น Paypal มียอดการทำธุรกรรมกว่า 120,000 ครั้งต่อวัน  และยอดการซื้อสินค้าและประมูลผ่านเว็บอีเบย์นั้นกล่าวกันว่าในตอนนี้  มากกว้า 60% ใช้บริการของ Paypal นี่จึงอาจจะเป็นเหตุผลที่อีเบย์ต้องเข้าเทคโอเวอร์เพย์พาลก็เป็นได้  และการให้บริการก็มีเรื่อยมาจนปัจจุบันที่มีให้บริการในประเทศ  คุณสามารถติดต่อสื่อสารโดยตรงกับเจ้าหน้าที่เป็นภาษาไทยได้ด้วย  และมีคนไทยใช้เพย์พาลในการทำธุรกรรมออนไลน์  มากกว่า 8 ล้านแอคเคาท์ที่ใช้งานอยู่ขณะนี้  อาจจะมีเจ้าอื่นโผล่ขึ้นมาแข่งบ้างแต่ก็ยังไม่เวิล์ดไวล์เท่ากับ Paypal อย่างของไทยถ้าจะพูดกันตรงๆคงจะหนีไม่พ้นทรูมันนี่วอลเล็ต  แต่ก็ยังไม่สามารถใช้ได้ทั่วโลกเหมือนอย่างเพย์พาล

paypal ในมือถือ

นโยบายใหม่ของบริษัทเพย์พาล ในปีหน้า 2565

หลังจากที่เพย์พาลได้ปิดรับสม้ครแอคเคาท์ใหม่ชั่วคราวในประเทศไทยไปตั้งแต่  ในเดือนสิงหาคม 2564 ซึ่งกลายเป้นสัญญานที่อาจจะส่งผลกระทบกับผู้ที่ใช้ช่องทางนี้ทำธุรกรรมการเงินในประเทศไทยและระหว่างประเทศ  หลักๆเลยก็ประเภทที่ทำฟรีแลนซ์แล้วรับรายได้ผ่านช่องทางเพย์พาล  แต่ทางบริษัทก็แจ้งประกาศชัดเจนว่าผู้ใช้งานที่เปิดบัญชีก่อนหน้านั้นยังใช้งานได้อยู่  

จนในวันที่ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ประกาศว่าที่จะเปิดให้บริการในไทยอีกครั้ง  ครั้งนี้มาพร้อมกับนโยบายใหม่สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปและผู้ใช้งานเพื่อธุรกิจ  ที่จะต้องทำการลงทะเบียนยืนยันตัวตนแจ้งว่าผู้ใช้งานที่เปิดบัญชีก่อนวันที่ 7 มีนาคม 2564 จำเป็นต้องดำเนินการบาง 2 ขั้นตอนเพื่อใช้บัญชีในประเทศไทยได้ต่อไปภายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ดังนี้

  1. ยอมรับข้อตกลงการเปิดบริการใหม่ของ PayPal ประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย 1) ข้อตกลงสำหรับผู้ใช้งาน PayPal ประเทศไทย และ 2) ข้อตกลงการยินยอมการเปิดใช้บริการใหม่ของ PayPal ประเทศไทย
  2. ยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ข้อกำหนดจะขึ้นอยู่กับว่ามีบัญชีส่วนตัวหรือไม่ หรือใช้บัญชีเพื่อธุรกิจนิติบุคคล

ซึ่งข้อกำหนดต่างๆที่มีสามารถอ่านรายละเอียดได้ในเว็บไซต๋ของ Paypal ได้จะมีแจ้งประกาศใว้หน้าเว็บของในส่วนประเทศไทยอย่างชัดเจน  อย่างไรก็ตามคุณหลังลงทะเบียนเสร็จการใช้งานของคุณ  ก็ยังสามารถใช้ได้เหมือนเดิมเพียงแต่ต้องทำตามข้อกำหนด  ของทางเพย์พาลก็จะไม่มีปัญหาไดไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน หรือชำระค่าสินค้าและบริการทั้งหมดทั้งในและต่างประเทศ